วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 14 วันที่ 8 กุมภาพันธ์  2554

เนื้อหาที่เรียน

      วันนี้ได้ทำแบบทดสอบ เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายกับเด็ก ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
 
- การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
 
- มุมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
 
- มุมบ้าน
 
- มุมหมอ
 
- มุมร้านค้า
 
- มุมจราจร
 
     ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา ดังนี้
 
- เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
 
- สอนแบบเป็นธรรมชาติ
 
- สอนอย่างมีความหมาย
 
- สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห้น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
 
- สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน (ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้)
 
- ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน
 
    อาจารย์ก็ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วให้บอกว่าฟังแล้วรู้สึกอย่างไร และ ในเนื้อเพลงเค้าต้องการบอกอะไรกับเราบ้าง
 
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
 
เต็มไปด้วยความเครียดเพราะแต่ละคนรวมถึงดิฉัน ไม่ได้เตรียมตัวมาในการทำแบบทดสอบครั้งนี้ จึงทำไปด้วยความ  งง แต่ก็น่าจะทำได้อยู่บ้าง  เสร็จเป็นคนแรกๆๆ ซะด้วย
ครั้งที่ 13 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

เนื้อหาที่เรียน

- ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรม    ที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลลุ่มย่อยอภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและตรวจสอบความคิดเห็นความเข้าใจ ซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู - นักเรียนเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม (ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน)

   - เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่า การท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่

  - การคาดคะเนโดยการคาดเดาในขณะทีอ่าน เขียนและสะกดคำ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูงต้องทั้งหมด

  - มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อให้รับประสบการณ์ท่างภาษาอย่างหลากหลาย

  - ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทัวกัน

  - ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆ ผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ (อ่านคำคล้องจอง)

  - ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือ การเปิด ปิดหนังสืออย่างถูกต้อง

  - เปิดโอกาสให้เด็กพูกคุ ซักถามจากประสบการณ์เดิม ซึ่งครูสามารถประเมินได้

  - ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านที่เงียบๆ

  - ให้เด็กมีโอกาสเขียน ขีด เช่น วาดภาพถ่ายในสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ

การเชื่อมโยงภาษาพูดกับเขียน

ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเด็กได้เล่าได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง

จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษา คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือซึ่วเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ( คน อาหาร สิ่งที่อยู่รอบตัว) กู๊ดแมน เรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
 
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้ หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่ (ตำแหน่ง) ของตัวอักษร
 
ขั้นที่สาม เริ่มแยกแยะตัวอัักษร มีระเบียบแบบแผนของตัวอักษรและเริ่มจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในการอ่านในเด็กปฐมวัย
 
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
 
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
 
ระยะแรก เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่คิดขึ้นมาเองแทนตัวอักษรเขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนตัวอักษร
 
ระยะสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูดโดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
 
ระยะสาม เด็กเริ่มใช้สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับอักษรจริง
 
การจัดสภาพแวดล้อม
 
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจ
 
กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยของเด็ก
 
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่างๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเองซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เด็กเห็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง
 
บรรยากาศในการเรียนวันนี้
 
นอกจากจะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระต่างๆ แล้วบรรยากาศรอบตัวดิฉันก็เต็มไปด้วยความวุ่นวายเพราะเพื่อนบางคนก็กินไปด้วยเรียนไหด้วย แต่ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ที่เห็นใจพวกเราที่อนุญาติให้กินขนมในห้องเพราะหิวมากๆ บางคนก็คุยกัน ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนมากนัก แต่ก็พอจะเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนบ้าง

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 12 วันที่ 25  มกราคม  2554 

เนื้อหาที่เรียน

วันนี้เริ่มต้นด้วยเสียงเพลง

เพลง สวัสดี
สวัสดี สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน พบกันสวัสดี

เพลงชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา

เพลงอย่าทิ้ง 
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

เพลงตาและหู
 

ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอนครูสั่ง ต้องตั้งใจฟังต้องตั้งใจดู (ซ้ำ)
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชิวิตอยู่แล้วเด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิช
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหา
จูดิท นิวแมน
มีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึึ้นจาก หลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล
ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
กระบวนการการวางแผน
- แผนระยะสั้น
- แผนระยะยาว
 
 
บรรยากาศในห้องเรียน
ในการเรียนนั้นก็มีทั้งเครียดและผ่อนคลายเพราะมีเพลงเข้ามาช่วยจึงทำให้ไม่น่าเบื่อมาก
ครั้งที่ 11 วันที่ 18 มกราคม 2554

เนื้อหาที่เรียน

   วันนี้เข้าเรียนสายอีกแล้ว
- อาจารย์ให้คิดคำขึ้นมา 1 คำแล้วเรียกชื่อเพื่อนให้เพื่อนตอบมาเป็นคำที่คล้องจองกับเรา เช่น เราบอกว่า แมว เพื่อนอาจตอบว่า แถว เป็นต้น
- เมื่อพูดถึงคำเหล่านี้แล้วนึกถึงเหตุการณ์อะไร
  • ขำ
  • แปลกใจ
  • ดีใจ
  • เสียใจ
  • ตกใจ
  • หงุดหงิด
  • เศร้า
สิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้เด็กกล้าแสดงออก และเด็กได้รู้จักภาษาและการเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ
- อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่นและให้เขียนแผนผังครอบรัว
-อาจารย์ให้ออกไปหน้าห้องที่ล่ะแถว และให้ทำตามที่อาจารย์บอกคือ
  1.  ถ้าไม่มีคำว่าจันทรเกษมไม่ต้องทำอะไร เช่น จันทรเกษมนั่งลง  เรา ก็ต้องนั่ง
  2. ให้ทำตรงข้ามกับคำสั่ง เช่น ทั้งหมดนั่งลง  เราก็ต้องยืน
  3. อยากบอกอะไรกับเพื่อนก็ให้กระซิบต่อๆกันไปจนถึงคนสุดท้าย คนสุดท้ายก็บอกอาจารย์
  4. อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่นแล้วให้วาดรูปตามใจชอบและให้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรูปที่เราวาดโดยให้เชื่อมโยงกับรูปของเพื่อน
  5. ร้องพลง
-อาจารย์วาดรูปและเล่านิทาน (เรื่องเต๋าทอง)
-อาจารย์ให้กระดาษคนละแผ่นและให้คิดคำที่มีพยัญชนะ หรือสระที่เหมือนกันนำหน้า ของดิฉันใช้
 สระ -า นำ

          เพลงขอบคุณ  ขอบใจ


           เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ
     หนู ๆ    ควรต้องนึกถึงพระคุณ
    น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ 
    เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
   นึกถึงบุญคุณกล่าวคำ  ขอบใจ

บรรยากาศในห้องเรียน

ในนี้ก็สนุกดี เพราะได้ย้อนนึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ในสิ่งที่เราประทับใจและไม่ประทับใจ
ครั้งที่ 10 วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2554

(เรียนชดเชย) วันนี้เป็นวันที่เรียนชดเชย แต่ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากป่วย
ครั้งที่ 9 วันที่ 11 มกราคม 2554

เนื้อหาที่เรียน

   อาจารย์ให้แบบบันทึกการมีส่วนร่วม
   อาจารย์ได้แจกกระดาษตัวพยัญชนะให้นักศึกษาคนละหนึ่งแผ่นโดยให้หาพยัญชนะให้ครบทั้ง 44 ตัว
   ส่งงาน ฉัน ชอบ กิน ?
   อาจารย์สอนทำหนังสือเล่มเล็ก
   อาจารย์ถามว่า  การทำงานชิ้นนี้( ฉัน ชอบ กิน ?) ทำแล้วได้อะไบ้าง
  • รู้ประโยคเพิ่มมากขึ้น
  • ได้รู้ว่าเพื่อนชอบกินอะไร
  • การออกเสียง
              
ความหมายของภาษา ดังนี้     ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสใช้แทนสัตว์  สิ่งของ  สถานที่  กิริยาอาการและเหตุการณ์ เช่น เด็กกินขนมภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนทัศน์เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความเศร้าโศก และ ภาษาเป็นระบบโดยมีระบบเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่  เช่น มีคำที่เป็นประธาน กิริยา กรรม- องค์ประกอบของภาษา เสียง การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน ระบบเสียง ตัวอักษร ไวยากรณ์ คำ ประโยค คำศัพท์ ความหมาย ประโยคข้อความ

      -  ความหมายของจุดมุ่งหมายการสอนของภาษา การใช้ภาษเน้นวิธีการสื่อสารอย่างมีความหมาย และ การฟังและประสบการณ์ การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
      - ลักษณะของภาษา เนื่้อหาของภาษาได้แก่ หัวข้อ เนื้อเรื่อง หรือความหมายของสารจะใข้สื่อกับผู้อื่นประกอบกับชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เนื้อหาของภาษา
บรรยากาศในห้องเรียน

   สนุกดีค่ะ   แต่ก็เหนื่อย
ครั้งที่  8   วันที่ 4 มกราคม 54

เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เข้าเรียนสาย แต่ก็ไม่มาก
งานๆกำหนดส่ง วันที่ 11 .. 54
-                   งานพับคนละ 1 ชิ้น พับไปเล่าไป
-                   ให้ทำหนังสือเลมเล็กคนละ 1 เล่ม เพื่อเป็นสื่อในการสอนเด็ก ( ทำเรื่องอะไรก็ได้ หน้าแรกทำเป็นหน้าปก)
-                   อาจารย์ให้งานคือหารูปมาติดลงในกระดาษที่อาจารย์ให้มา คือ
ฉัน   ชอบ   กิน   อะไร    ?                      (หารูปอาหารที่ตนเองชอบกินมาใส่ในสี่เหลี่ยม)
-                   อาจารย์ให้เรียงตัวอักษรไทยจากรูป
-                   อาจารย์ยกตัวอย่างทำให้เด็กจำเลขได้ง่ายๆ
เช่นสอนให้เด็กนับเลขถ้านับเลข 1 ก็อาจจะวาดเป็นธงชาติ
นับเลข 2 ก็อาจจะวากเป็นเป็ด เป็นต้น
-                   อาจารย์ก็มีตัวอย่างภาษาที่แตกต่างกันมาให้ได้ศึกษา ซึ่งภาษาที่อาจารย์นำมาคือภาษาลาว เช่น

ภาษาไทย
ภาษาลาว

ไฟเขียว
ไฟแดง
ถ่ายเอกสาร
ร้านถ่ายรูป
ซุปเปอร์แมน
ห้องผ่าตัด
รถไฟ

ไฟอิสระ
ไฟอำนาจ
อัดเอกสาร
ร้านแหกตา
บักอึดถลาลม
ห้องปาด
ห้องแถวไหล



อาจารย์ยกตัวอย่างการเล่านิทานโดยการใช้มือเป็นสื่อ เช่น
-                   ผีเสื้อดูดน้ำหวาน
-                   งูกับกระต่าย

มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีหลายรูปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน ในการพัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
เพียเจท์ พูดเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาไว้ 3 ขั้น (  พูด 2 ขั้น )
1.             แรกเกิด – 2 ปี เด็กจะใช้ส่วนต่างๆของร่างกายมาก เพื่อรับรู้ และปรับความรู้เดิม
2.             2 – 6 ปี เด็กสามารถใช้ภาษาได้เป็นประโยคสั้นๆเมื่อตอนอายุ 2 ปี  เมื่อ 3 ปีขึ้นไปเด็กสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้นการพูดก็เริ่มมีประธาน บลูมและลาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ คือ
-                   ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส ( Code)  ใช้แทนสัตว์ สิ่งของสถานที่กิริยาอาการและเหตุการณ์  เช่น เดินกินขนม  
-                   ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนติกเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น  บ้าน ประเทศ  ความโศกเศร้า
-                   ภาษาเป็นระบบ โดยมีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
สรุป  ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

องค์ประกอบของภาษา (Language Component)
      1. เสียง (pronnncidtion)
                1.1การอ่าน (phonetics)
           1.1.1สัญลักษณ์(graphetics)
           1.1.2 ตัวอักษร (graphology)
       1.2. ระบบเสียง (phonology)
2. ไวยกรณ์(grammar)
  2.1 คำ(porphology)
  2.2 ประโยค(syntax)
3. ความหมาย (meamg)
   3.1 คำศัพท์ (vocabulary)
   3.2 ประโยคข้อความ (discoursc)
จุดมุ่งหมายการสอนภาษามีดังนี้(Goodman and gooaman)
1.             จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเป็นที่การสื่อสรอย่างมีความหมาย
2.             จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเป็นที่การเข้าใจความหมาย
3.              จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์เขียน เน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย
ลักษณะของภาษาเนื้อหาภาษา ได้แก่
  • หัวข้อ
  • เนื้อเรื่อง
  • ความหมาย
บรรยากาศในห้องเรียน
 วันนี้สนุกมากๆเพราะอาจารย์นำภาษาของประเทศลาวมาให้เราได้รู้จักหลายพยางค์ ในห้องเรียนก็มีแต่เสียงหัวเราะทั้งชั่วโมงเรียน
ครั้งที่ 7   วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม 2553

สอบกลางภาค
ครั้งที่ 6    วันอังคาร ที่ 14 ธันวาคม 2553
สำหรับวันนี้อาจารย์เสาวลักษณ์ได้มาสอนแทนอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำคือ ปริศนาคำทายเป็นแบบหนังสือเล่มใหญ่ โดยเอาเนื้อหาจาก Power Point มาทำ โดยแต่ละกลุ่มก็แยกย้ายไปทำงานของตนเอง โดยอาจารย์ให้กระดาษเป็นกลุ่มๆ
วันนี้ก็เลยเรียนแบบสบายๆ
ครั้งที่ 5 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553

สำหรับวันนี้มีการนำเสนองานเรื่องปริศนาคำทาย ในรูปแบบ Power Point กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก อาจารย์ได้เสนอแนะ
- แก้ไขรูปภาพ ควรนำรูปภาพที่อยู่ในเฟรมเดียวกันมาใส่อีกจะได้ดูเหมือนกัน
- ตัวหนังสือเขียนได้ถูกต้อง
- แก้ไขคำพูดเพราะบางคำเด็กฟังแล้วอาจจะไม่เข้าใจ
ครั้งที่4 วันที่ 23  พฤศจิกายน 2533

อาจารย์ติดภารกิจ ไม่สามารถมาสอนได้
 ครั้งที่ 3 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2553

เนื้อหาที่เรียน

สำหรับวันนี้กลุ่มของดิฉันก็ได้นำเสนองานเรื่องให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพค่ะ และอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างการพูดในเรื่องของการโฆษณา การเล่าข่าว การพูดประกาศ นอกจากนี้แต่ละกลุ่มก็ได้พูดถึงปัญหาในการทำงาน สำหรับกลุ่มของดิฉันได้บอกถึงว่ากว่าจะสอนเด็กนั้นยากมาก เพราะเด็กไม่กล้าพูดและไม่รู้ว่าจะพูดแบบไหน
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- ภาพที่ให้เด็กเล่าต้องมีภาพเดียว เพราะการเล่าเรื่องจากภาพมาจากประสบการณ์ของเด็ก การที่เด็กเห็นภาพเดียวกันหลายๆ คน เด็กจะสื่อออกมาไม่เหมือนกัน เพราะกลุ่มของดิฉันนั้นได้เอาภาพจากหนังสือนิทานจึงทำให้งานออกมาไม่ค่อยตรงประเด็น
- มีความสนิทสนมกับเด็กมากน้อยเพียงใด
- งานที่ให้เด็กทำเป็นทางการมากเกินไปรึป่าว
- ที่โรงเรียนของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานแบบนี้หรือไม่
สำหรับเรื่องใหม่ที่เรียนในวันนี้ก็จะเป็นเกี่ยวกับปริศนาคำทายโดยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาตั้งชื่อของคนละหนึ่งชิ้นแล้วเอามาทายเพื่อนในห้องว่ามันคืออะไร เช่น
ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า เซเว่น
เซเว่น เป็น สิ่ง มี ชีวิต เซเว่น คือ อะไร
เพื่อน ตอบ ว่า แมว เซเว่น คือ แมว ฉัน ตอบ ว่า ไม่ใช่
เซเว่น ไม่ใช่ แมว
เซเว่น เป็น สิ่ง มี ชีวิต ตัว ยาวๆ ขา สั้นๆ เซเว่น คือ อะไร
เพื่อน ตอบ ว่า หมู เซเว่น คือ หมู ฉัน ตอบ ว่า ไม่ใช่ เซเว่น ไม่ใช่ หมู
เซเว่น เป็น สิ่ง มี ชีวิต ตัว ยาวๆ ขา สั้นๆ มี ขน ปุกปุย และ มี สี่ ขา เซเว่น คือ อะไร
เพื่อน ตอบ ว่า สุนัข เซเว่น คือ สุนัข เพื่อน เก่ง จัง เลย
เซเว่น เป็น สิ่ง มี ชีวิต ตัว ยาวๆ ขา สั้นๆ มี ขน ปุกปุย และ มี สี่ ขา
ในท้ายคาบอาจารย์ได้มอบหมายงานเรื่องปริศนาคำทายโดยให้ทำเป็นกลุ่มแล้วนำมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป