วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 13 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

เนื้อหาที่เรียน

- ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรม    ที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลลุ่มย่อยอภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและตรวจสอบความคิดเห็นความเข้าใจ ซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู - นักเรียนเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม (ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน)

   - เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่า การท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่

  - การคาดคะเนโดยการคาดเดาในขณะทีอ่าน เขียนและสะกดคำ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูงต้องทั้งหมด

  - มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อให้รับประสบการณ์ท่างภาษาอย่างหลากหลาย

  - ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทัวกัน

  - ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆ ผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ (อ่านคำคล้องจอง)

  - ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือ การเปิด ปิดหนังสืออย่างถูกต้อง

  - เปิดโอกาสให้เด็กพูกคุ ซักถามจากประสบการณ์เดิม ซึ่งครูสามารถประเมินได้

  - ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านที่เงียบๆ

  - ให้เด็กมีโอกาสเขียน ขีด เช่น วาดภาพถ่ายในสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ

การเชื่อมโยงภาษาพูดกับเขียน

ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเด็กได้เล่าได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง

จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษา คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือซึ่วเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ( คน อาหาร สิ่งที่อยู่รอบตัว) กู๊ดแมน เรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
 
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้ หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่ (ตำแหน่ง) ของตัวอักษร
 
ขั้นที่สาม เริ่มแยกแยะตัวอัักษร มีระเบียบแบบแผนของตัวอักษรและเริ่มจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในการอ่านในเด็กปฐมวัย
 
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
 
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
 
ระยะแรก เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่คิดขึ้นมาเองแทนตัวอักษรเขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนตัวอักษร
 
ระยะสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูดโดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
 
ระยะสาม เด็กเริ่มใช้สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับอักษรจริง
 
การจัดสภาพแวดล้อม
 
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจ
 
กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยของเด็ก
 
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่างๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเองซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เด็กเห็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง
 
บรรยากาศในการเรียนวันนี้
 
นอกจากจะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระต่างๆ แล้วบรรยากาศรอบตัวดิฉันก็เต็มไปด้วยความวุ่นวายเพราะเพื่อนบางคนก็กินไปด้วยเรียนไหด้วย แต่ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ที่เห็นใจพวกเราที่อนุญาติให้กินขนมในห้องเพราะหิวมากๆ บางคนก็คุยกัน ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนมากนัก แต่ก็พอจะเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น